คุณสัมพันธ์ พิพัฒน์วรการ
นักศึกษาเก่าระดับปริญญาตรี ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปีที่เข้าศึกษา 2532

จุดเริ่มต้นและแนวคิดในการก่อตั้ง แพทการ์เด้นเฟรชวิลล์ฟาร์ม
ผมเริ่มต้นด้วยการทำงานทางด้านวิศวกรรม แต่วันหนึ่งเส้นทางวิศวกรรมของผมมันถึงจุดที่ติดลบกว่า 40 กว่าล้านบาท ในวันนั้นผมก็หันกลับมามองเรื่องของการนำวิศวกรรมมาประยุกต์เพื่อจะสร้างงานใหม่ ก็เลยมาจบตรงที่ว่าผมเอางานวิศวกรรมมาประยุกต์ใช้กับงานนวัตกรรมการเกษตรไม่ว่าจะเรื่องของไฟแสงอาทิตย์ปลูกพืช สิ่งที่ปลูกพืชนวัตกรรมพวกไฮโดรออร์แกนิคต่าง ๆ คือเราจะคิดค้นเรื่องของนวัตกรรมการเกษตรมากมายกลายเป็นงานนวัตกรรมขึ้นมา จึงเป็นตัวกำเนิดว่าคนชอบเรียกผมว่า เกษตรอัจฉริยะ คือการทำงานนี้ผมได้นำงานวิศวกรรมมาต่อยอดกับงานเกษตรกรรม
ได้นำหลักวิศวกรรมเข้ามามีส่วนร่วม แพทการ์เด้นเฟรชวิลล์ฟาร์ม อย่างไรบ้าง
ยกตัวอย่างง่าย ๆ ผมจะบอกว่านวัตกรรมการเกษตรคืออะไร อย่างตัวผมเองจบทางด้านของโครงสร้างเหล็ก ผมเรียนที่บางมดผมบอกว่าบางมดเราเนี่ยได้ไปทำตึก empire tower ไทยเราสร้างโครงสร้างตึก 25,500 ตัน ตึกที่สูงสุดในย่านสาธรเราทำมาหมดแล้ววันหนึ่งเรามาอยู่วงการเกษตรกรรม เราก็เกิดคำถามว่าเราสามารถทำอะไรกับเกษตรกรรมได้บ้าง เราบอกว่าโรงเรือนมันต้องเป็นโรงเรือนเกษตรกรรมจริง ๆ โรงเรือนเราจะทำด้วยเหล็กที่ชุบไม่เป็นสนิมเลย โรงเรือนเราจะเป็นระบบล็อคดาวน์ ไม่มีรอยเชื่อมแม้แต่จุดเดียว ความสูงจะสูงจากพื้นดิน 4 เมตร โรงเรือนเราข้างในจะเย็นข้างนอกร้อน แต่ปกติโรงเรือนประเทศไทยข้างในจะร้อนกว่าข้างนอก แต่มาที่นี่ข้างในจะเย็นกว่าข้างนอก เพราะฉะนั้นเราเอาวิศวกรรมนี้มาประยุกต์เช่นระบบโครงสร้าง การก่อสร้างต้านทานลม ต้านแรงบิด เราสร้างโรงเรือนที่เป็นมาตรฐานจริง ๆ ซึ่งควบคุมโดยระบบไฟฟ้า ที่นี่ถ้าร้อนจัดม่านจะปิด ถ้าอากาศเย็นม่านจะเปิด ทุกอย่างจะถูกควบคุมด้วยระบบเซ็นเซอร์ทั้งหมดนี่คือวิศวกรรมล้วนที่เรานำมาประยุกต์ใช้กับระบบเกษตรเรื่องของการปรับสภาพต่าง ๆ เรื่องเกี่ยวกับการให้ปุ๋ยจะเห็นได้ว่าจะมีบางตัวให้ปุ๋ยแนวตั้ง แนวดิ่ง ให้ปุ๋ยอัตโนมัติเป็นต้น
แพทการ์เด้นเฟรชวิลล์ฟาร์ม ดำเนินการโดยใช้หลักเกษตรอินทรีย์ไร้สารพิษในการยับยั้งศัตรูพืชและกำจัดแมลงอย่างไร
เราต้องการให้สภาวะแวดล้อมเหมาะสม แต่หลีกหนีไม่พ้นเรื่องนี้ เหตุผลคือถึงจะมีมุ้งกันแมลงระดับหนึ่ง แต่วันหนึ่งมันก็เล็ดลอดเข้ามาได้ เพราะฉะนั้นการกำจัดศัตรูพืช ทางเราเด็ดขาดว่าจะไม่ใช้เคมีสารพิษ ในการที่จะมาทำเกษตรเราจะยึดโยงกับตัวที่เรียกว่ามาตรฐานเป็น global standard หมด เป็น global organic standard เพราะฉะนั้น input ทุกตัวต้องมีมาตรฐานต่างๆ เช่น eu 27 ประเทศเป็นต้น เพราะฉะนั้นเมื่อเรามีมาตรฐานเป็นตัวตั้ง เราก็สามารถสร้างผลิตสารอะไรบางอย่าง ซึ่งมันทำให้ไม่ต้องใช้สารพิษซึ่งเป็นระบบของ organic ที่ทั่วโลกยอมรับเอามาใช้งานในเกษตรกรรมของเรา สารพิษมีผลกระทบมากมายทำให้คนสวนเองสามารถเป็นอันตรายได้ เราจึงต่อต้านเรื่องนี้สุดๆ ทางเราจะต่อต้านแมลงทางด้านกายภาพด้วยการสร้างโรงเรือน ถ้าไม่มีเงินพอสร้างโรงเรือนก็ต้องใช้สารซึ่งเป็นสารอินทรีย์บางตัว สารสกัดที่สามารถป้องกันโรคพืชได้ เพราะฉะนั้นมันมีนวัตกรรมต่างๆ อย่างไบโอเทคโนโลยีชีวภาพ เพราะฉะนั้นเราควรจะนำหลักการพวกนี้มาใช้ซึ่งนี่เป็นหลักการที่เรายึดมั่นและใช้อยู่
แพทการ์เด้นเฟรชวิลล์ฟาร์ม มีเป้าหมายต้องการขยาย smart farm ภายใต้โครงการ 1 อำเภอ 1 ฟาร์มให้ได้ 968 จุดภายใน 3 ปีและปัจจุบันการดำเนินการเป็นอย่างไรบ้าง
งานเกษตรทุกอย่างเรานำเข้าซะส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้นเราเลยมีความคิดว่าวันหนึ่งเราจะแย่เราติดหนี้ 40 กว่าล้าน แต่เรายังฟื้นมาได้จากการเกษตร เราไม่ได้ขายผลผลิตอย่างเดียวเรามาเรื่องของนวัตกรรมทางการเกษตร เพราะฉะนั้นเราหาคนจะหมื่นแสนคนขอเพียงคนๆเดียวที่มีความคิดเหมือนเราปักหมุดตรงนั้นให้เขาลองทำเกษตรเหมือนเรา ว่าเขาสามารถที่จะฟื้นตัวเองและสร้างตัวเองได้ไหม เราไม่ต้องไปไกลถึงต่างประเทศแต่เราสามารถสร้างมูลค่าได้มากมายที่บ้านเกิดของเราเอง จึงกำเนิดขึ้นมาเป็นหนึ่งอำเภอหนึ่งฟาร์ม โดยใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรเป็นตัวนำ เป็นลักษณะของการเอานวัตกรรมไปจัดการพืชผลเกษตร ใครเคยปลูกอะไรก็ปลูกไปแต่เรานำเทคโนโลยีไป plug-in ให้เขาได้มาตรฐานที่เป็น global standard อัพเกรดสินค้าเขาให้มีมูลค่าสูง ให้ที่นั่นสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นแหล่งถ่ายทอดในอำเภอได้ ซึ่งวันนี้ที่สมัครมาแล้วก็มี 10 จุด แต่ละคนก็มีโรงงานบ้าง บางคนก็เป็นวิศวกรระดับใหญ่ กลายเป็นว่าคนที่มองเห็นเทคโนโลยีวันนี้เป็นคนที่มีการศึกษาและมองเห็นว่าเกษตรกรในอนาคตต้องเป็นแบบนี้ วันนี้เราก็ร่วมกับสถาบันการศึกษาหลายที่ในการพัฒนาสิ่งเหล่านี้ โครงการนี้จึงเริ่มเป็นรูปเป็นร่างและกระจายไปเรื่อยๆในแต่ละจุดในไม่ช้าเลยเกิดเป็นชื่อของ plasma farming thailand ซึ่งมีหลายประเทศติดต่อมาไม่ว่าจะเป็นพม่าหรือประเทศอื่นๆ แต่ตอนนี้เราโฟกัสที่ประเทศไทย 1 อำเภอ 1 จุดรวมถึงกรุงเทพฯและเทศบาลต่างๆน่าจะอยู่ที่ประมาณ 978 จุด ปัจจุบันเริ่มมีคนเชิญเราไปพูดและเริ่มมีการปฏิบัติทดสอบ ไม่เกิน 5 ปีเกษตรกรรมน่าจะเป็นในรูปแบบนี้ เพราะฉะนั้นเกษตรกรไทยเราต้องปรับตัว ไม่งั้นถ้ามาตรฐานออแกนิคเข้ามาเมื่อไหร่หรือมาตรฐาน global standard เข้ามา ถ้าเราทำเกษตรแบบเดิมเราจะสู้เขาไม่ได้ เพราะฉะนั้นอาจมีผลกระทบเป็นวงกว้าง